.



วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความหมาย..."เทคโนโลยีการศึกษา"

ความหมาย..."เทคโนโลยีการศึกษา"
แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา อาจแบ่งได้เป็น 2 แนวคิดหลัก
1.แนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีทางการศึกษา (Technology in education)หรือเทคโนโลยีเชิงเครื่องมือ
เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำสื่อที่เกิดจากการปฏวัติทางการสื่อสารมาใช้ในการเรียนการสอน
เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำทัพสัมภาระต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการเรียนการสอน
จากความหมายที่ยกมาทั้งสองความหมายข้างต้น จะพบว่าเป็นความหมายที่เน้นที่เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เป็นผลผลิตจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์หรือสื่อสมัยใหม่ที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ หรือ สื่อสมัยใหม่ที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือดังกล่าวขึ้นเพื่อเอาชนะอุปสรรค ปัญหาในการสื่อสารของมนุษย์ ซึ่งผลจากการประดิษฐ์คิดค้นนั้นทำให้เกิดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ หรือทัพสัมภาระต่าง ๆ มากมาย อาทิ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร เครื่องขยายเสียง คอมพิวเตอร์และอื่น ๆ อีกมากมาย แล้วต่อมานักการศึกษา หรือ ครู อาจารย์ได้นำเอาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าใช้ในการเรียนการสอน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ ออกมาได้แล้ว นักการศึกษาก็มาพิจารณาว่าเครื่องมือดังกล่าวจะสามารถนำมาใช้ช่วยแก้ปัญหาตรงจุดใดของการศึกษาได้บ้าง ความคิดหรือความเข้าใจความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกนัยว่าเทคโนโลยีในการศึกษา (Technology in education)

2.แนวคิดเชิงพฤติกรรมหรือเทคโนโลยีทางการศกษา (Technology of education)หรือเทคโนโลยีเชิงระบบ (System technology)
เทคโนโลยีทางการศึกษา มิได้หมายถึงเฉพาะการนำทัพสัมภาระต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการเรียนการสอนเท่านั้น เทคโนโลยีทางการศึกษา ยังหมายถึงวิธีการซึ่งเป็นเพียงแนวคิด เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้มองด้วยตาไม่เห็น เช่นวิธีระบบ (System approach) วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบไม่แบ่งชั้น วิธีการสอนเป็นคณะ ฯลฯ
เทคโนโลยีทางการศึกษาตามแนวคิดนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นแนวคิดที่เน้นเรื่องการปฏิบัติงานทางการศึกษาด้วยวิธีระบบ หรืออาจกล่าวโดยสรุปแนวคิดเทคโนโลยีทางการศึกษาตามแนวคิดนี้ได้ว่า
เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึงการออกแบบ การวางแผน การดำเนินการ ตามแผนการประเมินผลภายใต้จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจงอย่างมีระบบโดยการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการที่ได้มาจากการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ตลอดจนอาศัยทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น ธรรมชาติสร้างขึ้น และ หรือ มนุษย์และธรรมชาติสร้างร่วมกัน

ที่มาของข้อมูล : มนตรี แย้มกสิกร.(2547).การวิจัยและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น