.



วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการเป็น “ผู้นำ” กับ “ผู้จัดการ”

สำหรับคนที่อยู่ในระดับบริหารนั้น มีข้อสงสัยกันมานานแล้วว่า การเป็น “ผู้นำ” และ “ผู้จัดการ” แตกต่างกันอย่างไร การเป็น “ผู้นำ” หรือ “ผู้จัดการ” ล้วนมีความสำคัญทั้งสองสถานะ หากแต่การเป็นผู้นำไม่เหมือนกับการเป็นผู้จัดการ เพราะคำว่า “ผู้นำ” เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของบุคคลนั้น ๆ ในอันที่จะ ชี้นำแนวทางสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาในสิ่งต่าง ๆ ในขณะที่การเป็น “ผู้จัดการ” หมายถึงการจัดการเพื่อให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดประสบความสำเร็จ สะท้อนถึงการรับผิดชอบในภารกิจของตน


จากหนังสือ “On Becoming a Leader” ของวอร์เรน เบนนิส ได้อธิบายให้เราเห็นถึงความแตกต่างระหว่างการเป็น “ผู้นำ” กับ “ผู้จัดการ” ไว้ดังนี้

ผู้จัดการให้ความสำคัญกับการบริหาร ผู้นำให้ความสำคัญกับการริเริ่มสิ่งใหม่
ผู้จัดการให้ความสำคัญกับการรักษา ผู้นำให้ความสำคัญกับการพัฒนา
ผู้จัดการให้ความสำคัญกับระบบและโครงสร้าง ผู้นำให้ความสำคัญกับบุคลากร
ผู้จัดการให้ความสำคัญการควบคุม ผู้นำให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อถือ
ผู้จัดการยอมรับในความจริง ผู้นำแสวงหาความจริง
ผู้จัดการมักทำตามสิ่งที่ปฏิบัติกันมา ผู้นำมักสร้างแบบให้คนอื่นปฏิบัติ
ผู้จัดการมองการณ์ใกล้ ผู้นำมองการณ์ไกล
ผู้จัดการมักถามว่า “เมื่อไร” และ “อย่างไร” ผู้นำมักถามว่า “อะไร” และ “ทำไม”
ผู้จัดการมองสิ่งต่าง ๆ ตามบรรทัดฐานของมัน ผู้นำมองสิ่งต่าง ๆ ในทุกแง่มุมของมัน
ผู้จัดการทำสิ่งต่าง ๆ ตามสิทธิของเขา ผู้นำทำในสิ่งที่ถูกต้อง
ผู้จัดการมีหน้าที่จัดการกับปัญหาความยุ่งยากต่าง ๆ ในองค์กร ผู้นำมีหน้าที่จัดการกับความเปลี่ยนแปลง

แม้ว่าความหมายของผู้นำจะแสดงถึงตัวตนที่เต็มไปด้วยพลังในการคิดริเริ่ม พัฒนาสิ่ง ๆ ต่าง ๆ ก็ตาม แต่การเป็นผู้นำที่ขาดการบริหารที่ดี บางครั้งกลับแย่ยิ่งกว่าการเป็นผู้บริหารที่อ่อนในเรื่องการเป็นผู้นำเสียอีก

ด้วยเหตุนี้การเป็น “ผู้นำ” หรือ “ผู้จัดการ” ทั้งคู่ล้วนแต่จำเป็นต่อการประสบความสำเร็จขององค์กร และส่งเสริมกันให้การดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเข็มแข็ง คนที่เป็นผู้จัดการจึงควรมีบุคลิกของผู้นำ และคนที่เป็นผู้นำก็ควรมีการบริหารจัดที่ดีด้วยจึงจะสามารถนำมาองค์กรสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

ADDIE

A : Analysis เป็นกระบวนการของการบ่งชี้ว่าจะต้องเรียนอะไรบ้าง

วิเคราะห์ศึกษาความต้องการจำเป็น
- อะไรคือปัญหา แล้วเราจะแก้ไขปัญหาอย่างไร
- จะแก้ไขปัญหาอย่างไร

วิเคราะห์กิจกรรมหรืองาน
- จะสอนอะไรบ้าง หารายละเอียดของกิจกรรมหรืองานที่เกี่ยวกับการสอน

วิเคราะห์การเรียนการสอน
- เป็นการขั้นตอนของการเรียนการสอนว่าจะแบ่งขั้นตอนของเนื้อหาอย่างไร

Formative VS Summative (Evaluation)

Formative คือการทดสอบระหว่างฝึก
Summative คือการทดสอบหลังฝึกเป็นการสรุปผล
Formative คือการทดสอบบทเรียน หรือสื่อการสอนในระหว่างการดำเนินการพัฒนา เพื่อเป็นการประกันคุณภาพว่าสื่อที่ผลิตนั้นมีประสิทธิภาพสำหรับการเรียนการสอนเพียงพอ

- ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อ
- ให้กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประเมิน
- ทดสอบแบบกลุ่มย่อย แบบสังเกต คุยกันระหว่างตัวต่อตัว (1ต่อ1)
- นำไปใช้งานและการสรุปผล



--------------------------------------------------------------------------------

D : Design เป็นกระบวนการของการบ่งชี้การเรียนการสอนจะเกิดขึ้นอย่างไร

- วัตถุประสงค์การเรียนรู้จะต้องได้วัตถุประสงค์จากการออกแบบ
- เราจะรู้ได้อย่างไรว่าวัตถุประสงค์บรรลุเป้าหมายแล้วดูจากการประเมิน
- ยุทธวิธีการสอนแบบไหน
- สื่อหรือวิธีการใดที่จะให้ประสิทธิภาพในการออกแบบ

--------------------------------------------------------------------------------

D : Development เป็นกระบวนการสร้างสื่อ หรือวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน การพัฒนาการสร้างสื่อเพิ่มกิจกรรมการเรียนการสอนขึ้นมา

เราจะได้สคริปในขั้นการเขียนสคริปต์สตอร์รี่บอร์ด
สคริปเพื่อสร้างผลิตสื่อ
วัสดุอุปกรณ์

- การประเมินมาตรฐาน
- สื่อตัวนี้ได้บรรลุหรือผ่านคุณภาพมาตรฐานหรือเปล่า
- เราจะปรับปรุงอย่างไรถ้ายังไม่ดี

--------------------------------------------------------------------------------

I : Implementation เป็นกระบวนการนำเอาบทเรียนออกมาใช้
- การส่งงานต่อให้ลูกค้าได้ออกมาใช้งานจริง หรือการนำออกมาใช้

--------------------------------------------------------------------------------

E : Evaluation เป็นกระบวนการของการประเมินผล

- เราได้แก้ปัญหาได้ (ในขั้นที่มีปัญหา) วิธีการแก้ไขปัญหา
- ผลกระทบเกี่ยวกับเรื่องอะไร
- สิ่งไหนบ้างที่จะต้องแก้ไข สำหรับการพัฒนาครั้งต่อไป

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

The 90/90 Standard

        The 90/90 Standard เป็นเกณฑ์ประสิทธิภาพที่เหมาะสำหรับการหาค่าประสิทธิภาพของสื่อประเภทที่เรียนรู้ด้วยตนเองเป็นรายบุคคล เช่น แบบเรียนโปรแกรม  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ท้ังนี้ เกณฑ์ประสิทธิภาพ The 90/90 Standard มีพื้นฐานมาจาก Mastery Learning ที่มีความเชื่อว่า คนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน และคนทุกคนมีความสามารถที่เรียนรู้ได้ เพียงแต่ว่า หากคนคนนั้นได้รับเวลาที่เพียงพอในการศึกษาจนกว่าเขาคนนั้นจะบรรลุถึงจุดหมายการเรียนรู้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ นั่นหมายความว่า สื่อประเภท แบบเรียนโปรแกรม บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงจำเป็นต้องจัดให้ผู้เรียนใช้เรียนรู้ด้วยตนเอง มิใช่ครูเอาเข้าไปสอนให้เรียนไปพร้อม ๆ กันในชั้นเรียน 

ในบทที่ 14 หัวข้อ การวิเคราะห์ผลการทดสอบ ในตำรา เทคนิคการเขียนบทเรียนโปรแกรม  ของ รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท (2519 : 127) 
    ท่านกล่าวไว้ว่า   สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งของการสอนแบบโปรแกรม ก็คือ บทเรียนโปรแกรมที่เขาสร้างกันขึ้นนั้น เขาสร้างขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายที่เฉพาะเจาะจง ต่อไปเขาก็อยากทราบว่าจุดมุ่งหมายต่าง ๆ เหล่านั้น บทเรียนสามารถทำให้บรรลุไปได้เพียงใดหรือไม่ ก็ต้องมีการทดสอบกัน ในการทดสอบผลของการใช้บทเรียนโปรแกรมนี้ ได้มีผู้นำเอาเทคนิคการวัดผลหลาย อย่างมาใช้ และเทคนิคที่ใช้กันมากที่สุดวิธีหนึ่งก็คือเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 (The 90/90 Standard)

       คำกล่าวของ รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท (2519 : 129) กล่าวไว้ว่า เราขอให้ 90 ตัวแรก เป็นคะแนนเฉลี่ยของทั้งกลุ่ม ซึ่งหมายถึงนักเรียน ทุกคน เมื่อสอนครั้งหลังเสร็จ ให้คะแนนเสร็จ นำคะแนนมาหาค่าร้อยละให้หมดทุกคะแนนแล้ว หาค่าร้อยละเฉลี่ยของทั้งกลุ่ม ถ้าบทเรียนโปรแกรมถึงเกณฑ์ ค่าร้อยละเฉลี่ยของกลุ่มจะต้องเป็น 90 หรือ สูงกว่า
       90 ตัวที่สอง แทนคุณสมบัติที่ว่า ร้อยละ 90 ของนักเรียนทั้งหมดได้รับผลสัมฤทธิ์ตามความมุ่งหมายแต่ละข้อ และทุกข้อของบทเรียนโปรแกรมนั้น สมมุติว่าบทเรียนทั้งหมด วัดทุกจุดมุ่งหมายด้วยข้อสอบจำนวน 10 ข้อ และเราทดสอบนักเรียน 100 คน ด้วยข้อทดสอบนี้ ท่าน รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท บอกว่า เราจะไม่ยอมให้นักเรียนทำข้อไหนผิดเลยได้ 90 คน หรือมากกว่า  ที่ทำผิดบ้างข้อจะต้องมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 หรือ 10 คน  ถ้าเกิดมีการทำผิดในบางข้อขึ้น เกินกว่าร้อยละ 10 จะต้องมีการแก้ไขข้อนั้น ๆ เสียใหม่ แล้วทำการทดสอบบทเรียนอีก เมื่อ 
ท่านบอกว่า  เราแน่ใจว่า ตามลักษณะของผู้เรียนที่กำหนด คะแนนเฉลี่ยของทั้งกลุ่มอย่างน้อยที่สุด เท่ากับร้อยละ 90 และไม่มีคนทำผิดในข้อหนึ่ง  เกินกว่าร้อยละ 10 แล้ว ท่านควรตกลงใจได้แล้วว่า บทเรียนที่เขียนขึ้นได้สำเร็จเรียบร้อยลงแล้วและสามารถนำไปใช้ได้ต่อไป

ความหมายของ 90/90 มีดังนี้ 90 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังการเรียนจากสื่อนั้น 
(จะต้องได้อย่างน้อยร้อยละ 90)
90 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละของจำนวนผู้เรียนที่สามารถผ่านเกณฑ์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมทุกจุดประสงค์
(ตามที่กำหนดในสื่อนั้น)  


เอกสารเสนอแนะเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม 
รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท. เทคนิคการเขียนบทเรียนโปรแกรม หอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. 

รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร. การวิจัยและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา หอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา.

สื่อบุคคล

รศ.ดร.สุทธิพงศ์  หกสุวรรณ 
(ศิษย์เอก รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท). ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.


อ้างอิง
เปรื่อง  กุมุท.  เทคนิคการเขียนบทเรียนโปรแกรม.  ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา :
        คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.  2519.

สัมภาษณ์ รศ.ดร.สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ. (ศิษย์เอก รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท) เมื่อวันที่  24 ตุลาคม 2552.

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คำจำกัดความของคำว่า "วิจัย"


วิจัย คือ การตั้งคำถาม แล้วดำเนินการ เพื่อหาคำตอบ
วิจัย คือ กระบวนการคิด แล้วทำอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่



การวิจัย (research) หมายถึงการกระทำของมนุษย์เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทำด้วยพื้นฐานของปัญญา ความมุ่งหมายหลักในการทำวิจัยได้แก่การค้นพบ (discovering), การแปลความหมาย, และ การพัฒนากรรมวิธีและระบบ สู่ความก้าวหน้าในความรู้ด้านต่างๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในโลกและจักรวาล การวิจัยอาจต้องใช้หรือไม่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ได้

พจน์ สะเพียรชัย กล่าวว่า "การวิจัยคือวิธีแก้ปัญหาที่มีระบบแบบแผนเชื่อถือได้ เพื่อให้เกิดความรู้ที่เชื่อถือได้"
ท่านที่สอง คือ อนันต์ ศรีโสภา กล่าวว่า "การวิจัยเป็นกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้จากปัญหาที่ชัดเจนอย่างมีระบบ โดยมีการทดสอบสมมติฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ซึ่งสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในเรื่องนั้น ๆ เพื่อนำไปพยากรณ์หรือสังเกตการเปลี่ยนแปลง เมื่อควบคุมสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้คงที่"
ท่านที่สาม คือ เบส (Best) ให้ความหมายไว้ว่า "การวิจัยเป็นแบบแผนหรือกระบวนการวิเคราะห์อย่างเป็นปรนัย มีโครงสร้างที่เป็นระเบียบ

เคอร์ลิงเจอร์ (Kerlinger) ให้ความหมายว่า "เป็นการใช้ข้อมูลในการตรวจสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปรากฎการณ์ธรรมชาติ โดยมีการควบคุมอย่างเป็นระบบสม่ำเสมอ

ในที่ประชุม Pan Pacific Science Congress ค.ศ.1961 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แยกความหมายของ RESEARCH ไว้ดังนี้
R - Recruitment and Relationship หมายถึง การฝึกคนให้มีความรู้ รวมทั้งรวบรวมผู้มีความรู้และปฏิบัติงานร่วมกันติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน
E - Education and Efficiency หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษา มีความรู้ และสมรรถภาพสูงในการวิจัย
S - Sciences and Stimulation เป็นศาสตร์ที่ต้องพิสูจน์เพื่อค้นคว้าหาความจริงและผู้วิจัยจะต้องมีพลังกระตุ้นให้เกิดความริเริ่ม กระตือรือร้นที่จะวิจัยต่อไป
E - Evaluation and Environment ผู้วิจัยจะต้องรู้จักการประเมินผลดูว่างานวิจัยที่ทำอยู่มีประโยชน์สมควรจะทำต่อไปหรือไม่ และต้องรู้ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการวิจัย
A - Aim and Attitude มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่แน่นอนและมีเจตคติที่ดีต่อผลของการวิจัย
R - Result ผลของการวิจัยที่ได้มาจะเป็นทางบวกหรือลบก็ตาม จะต้องยอมรับผลของการวิจัยนั้น เพราะเป็นผลที่ได้มาจากการค้นคว้าอย่างระบบและเชื่อถือได้
C - Curiosity ผู้วิจัยจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็น มีความสนใจและขวนขวายในงานวิจัยอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าความอยากรู้นั้นจะมีเพียงเล็กน้อยก็ตาม
H - Horizon เมื่อผลการวิจัยปรากฏขึ้นแล้ว ย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้นได้ เหมือนกับเกิดแสงสว่างขึ้น แต่ถ้ายังไม่เกิดแสงสว่าง ผู้วิจัยจะต้องดำเนินการต่อไปจนกว่าจะพบแสงสว่าง ซึ่งก็คือผลของการวิจัยจะต้องก่อให้เกิดสันติสุขแก่สังคม

โดยสรุปแล้ว การวิจัย คือ กระบวนการที่เป็นระบบน่าเชื่อถือ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่สนใจ

ความหมายของการวิจัย
คำว่า การวิจัย มาจากคำว่า Research มีรากศัพท์มาจาก Re + Search Re แปลว่า ซ้ำ Search แปลว่า ค้น ดังนั้น Research แปลว่า ค้นคว้าซ้ำแล้วซ้ำอีก ซึ่งน่าจะหมายถึง การค้นหาความรู้ความจริง ค้นแล้วค้นอีก ซึ่งจะทำให้ได้รับรู้ความรู้ความจริงที่น่าเชื่อถือ ถูกต้อง เพราะมีข้อมูลที่เพียงพอต่อการสรุปเป็นความรู้ความจริงนั้น ๆ
+ ความหมายของการวิจัยตามพจนานุกรม การวิจัย คือ การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา (พจนานุกรม. 2525)
ความหมายการวิจัยของ Best การวิจัย คือ การวิเคราะห์และบันทึกการสังเกต ภายใต้การควบคุมอย่างเป็นระบบ และเป็นปรนัย ซึ่งอาจนำไปสู่การสร้างทฤษฎี หลักการหรือการวางนัยทั่วไป
+ ความหมายการวิจัยของจริยา เสถบุตร การวิจัย คือ การค้นคว้าความรู้อย่างมีระบบและแบบแผน เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการหรือเกิดประโยชน์แก่มนุษย์ โดยอาศัยวิธีการที่เป็นที่ยอมรับ ในแต่ละสาขาวิชา
+ ความหมายการวิจัยของ บุญชม ศรีสะอาด กระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่เชื่อถือได้มีลักษณะดังนี้

1. เป็นกระบวนการที่มีระบบ
2. มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนและชัดเจน
3. ดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างรอบคอบ ไม่ลำเอียง
4. มีหลักเหตุผล
5.บันทึกและรายงานออกมาอย่างระมัดระวัง


ตามความเข้าใจ 1. สรุปความหมายการวิจัย
การวิจัยคือ กระบวนการหาความรู้ความจริงใหม่ ที่มีระบบแบบแผนตามหลักวิชา อาศัยหลักเหตุผล ที่รอบคอบ รัดกุม ละเอียดและเชื่อถือได้ และความรู้ความจริงนั้นจะนำไปเป็นหลักการ ทฤษฎี หรือ ข้อปฏิบัติที่ทำให้มนุษย์ได้รับรู้และนำไปใช้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตด้วยความสงบสุขหรือป้องกันและหลีกเลี่ยงภัยอันตรายต่าง ๆ ได้
ตามความเข้าใจ 2. สรุปความหมายการวิจัย
การวิจัย เป็นกระบวนการ หรือเทคนิควิธีการในการแสวงหาความรู้ความจริง ที่น่าเชื่อถือได้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน การแสวงหา
ความรู้ที่น่าเชื่อถือในความหมายนี้นั้นก็คือ การวิจัย หรือการทำผลงานทางการวิจัย ซึ่งการกระทำดังกล่าว มีลักษณะสำคัญ 3 ประการด้วยกัน คือ
1. มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน
2. มุ่งศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง
3. ศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบระเบียบหรือมีขั้นตอน





(Reference)



วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความหมาย..."เทคโนโลยีการศึกษา"

ความหมาย..."เทคโนโลยีการศึกษา"
แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา อาจแบ่งได้เป็น 2 แนวคิดหลัก
1.แนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีทางการศึกษา (Technology in education)หรือเทคโนโลยีเชิงเครื่องมือ
เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำสื่อที่เกิดจากการปฏวัติทางการสื่อสารมาใช้ในการเรียนการสอน
เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำทัพสัมภาระต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการเรียนการสอน
จากความหมายที่ยกมาทั้งสองความหมายข้างต้น จะพบว่าเป็นความหมายที่เน้นที่เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เป็นผลผลิตจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์หรือสื่อสมัยใหม่ที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ หรือ สื่อสมัยใหม่ที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือดังกล่าวขึ้นเพื่อเอาชนะอุปสรรค ปัญหาในการสื่อสารของมนุษย์ ซึ่งผลจากการประดิษฐ์คิดค้นนั้นทำให้เกิดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ หรือทัพสัมภาระต่าง ๆ มากมาย อาทิ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร เครื่องขยายเสียง คอมพิวเตอร์และอื่น ๆ อีกมากมาย แล้วต่อมานักการศึกษา หรือ ครู อาจารย์ได้นำเอาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าใช้ในการเรียนการสอน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ ออกมาได้แล้ว นักการศึกษาก็มาพิจารณาว่าเครื่องมือดังกล่าวจะสามารถนำมาใช้ช่วยแก้ปัญหาตรงจุดใดของการศึกษาได้บ้าง ความคิดหรือความเข้าใจความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกนัยว่าเทคโนโลยีในการศึกษา (Technology in education)

2.แนวคิดเชิงพฤติกรรมหรือเทคโนโลยีทางการศกษา (Technology of education)หรือเทคโนโลยีเชิงระบบ (System technology)
เทคโนโลยีทางการศึกษา มิได้หมายถึงเฉพาะการนำทัพสัมภาระต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการเรียนการสอนเท่านั้น เทคโนโลยีทางการศึกษา ยังหมายถึงวิธีการซึ่งเป็นเพียงแนวคิด เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้มองด้วยตาไม่เห็น เช่นวิธีระบบ (System approach) วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบไม่แบ่งชั้น วิธีการสอนเป็นคณะ ฯลฯ
เทคโนโลยีทางการศึกษาตามแนวคิดนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นแนวคิดที่เน้นเรื่องการปฏิบัติงานทางการศึกษาด้วยวิธีระบบ หรืออาจกล่าวโดยสรุปแนวคิดเทคโนโลยีทางการศึกษาตามแนวคิดนี้ได้ว่า
เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึงการออกแบบ การวางแผน การดำเนินการ ตามแผนการประเมินผลภายใต้จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจงอย่างมีระบบโดยการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการที่ได้มาจากการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ตลอดจนอาศัยทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น ธรรมชาติสร้างขึ้น และ หรือ มนุษย์และธรรมชาติสร้างร่วมกัน

ที่มาของข้อมูล : มนตรี แย้มกสิกร.(2547).การวิจัยและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา

วิธีสมัคร Youtube & Up file to Youtube

วิธีสมัคร Youtube & Up file to Youtube http://www.youtube.com/watch?v=0EwEe6xoBUk&feature=related


กรอบแนวคิดในการทำวิจัย

กรอบแนวคิดในการทำวิจัย
กรอบแนวคิดเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อปัญหาการวิจัย ฉะนั้นการให้แนวความคิดจึงต้องชัดเจน และสามารถพิสูจน์ได้ การมีกรอบแนวคิดจะทำให้นักวิจัยสามารถจัดระเบียบข้อมูลได้ และทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพราะกรอบแนวคิดเป็นการรวบรวมเหตุการณ์ต่างๆ เข้าไว้ภายใต้หัวข้อเดียวกัน
ดังนั้น เมื่อนักวิจัยกำหนดจุดความสนใจหรือปัญหาที่จะต้องการหาคำตอบได้แล้ว เพื่อให้สามารถจัดระบบความคิดให้กับสิ่งที่ตั้งคำถามและสนใจที่จะศึกษา นักวิจัยจะต้องปฏิบัติในสิ่งต่อไปนี้.....
สมมติว่านักวิจัยตัดสินใจว่าจะศึกษาวิจัย เรื่อง "ปัจจัยทางสังคมบางประการที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในกิจกรรมพัฒนาท้องถิ่น" สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือ ต้องไปค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี และตำราต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขตแน่นอน ว่า "ปัจจัยทางสังคม" "การมีส่วนร่วม" และ"กิจกรรมพัฒนาท้องถิ่น ณ พื้นที่ที่จะเข้าไปศึกษา" นั้น มีคำอธิบายว่าอย่างไร และในการศึกษาวิจัยนี้กำหนดขอบเขตการอธิบายไว้แค่ไหน ขั้นตอนนี้เอง ที่เรียกว่า การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการศึกษาวิจัย
หรือสมมติว่านักวิจัยตัดสินใจว่าจะศึกษาวิจัย เรื่อง "การศึกษากระบวนการตัดสินใจของพนักงานเทศบาลระดับบริหารเพื่อนำนโยบายทางการเมืองไปปฏิบัติ" สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือ ต้องไปค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี ตำราต่างๆ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปในองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขตแน่นอน ให้กับสิ่งที่เรียกว่า "กระบวนการตัดสินใจ" ว่าอะไรบ้างที่อยู่ในกระบวนการตัดสินใจ และการตัดสินใจนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร บุคคลจะต้องอาศัยอะไรบ้างในการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ฯลฯ เพื่อกำหนดขอบเขตการอธิบายให้แน่นอน ขั้นตอนนี้เอง ที่เรียกว่า การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการศึกษาวิจัย
หรือสมมติว่านักวิจัยตัดสินใจว่าจะศึกษาวิจัย เรื่อง "ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนักประชาสงเคราะห์ในส่วนภูมิภาค" สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือ ต้องไปค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี ตำราต่างๆ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปในองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขตแน่นอน กับสิ่งที่เรียกว่า "ความพึงพอใจ" นั่นคือ นักวิจัยจะต้องค้นคว้าให้กระจ่างว่า พฤติกรรมที่เรียกว่าความพึงพอใจ นั้น มีลักษณะอย่างไร และสิ่งที่เรียกว่า "ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทั่วไป" ควรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง แล้วไปค้นคว้าเพิ่มเติมว่า "คนที่รับราชการในตำแหน่งนักประชาสงเคราะห์" มีภารกิจอะไรบ้าง ความยากง่ายของงาน ความพร้อมของหน่วยงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งการกำหนดขอบเขตขององค์ความรู้ที่กล่าวมา ก็คือ การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการศึกษาวิจัย ฯลฯ
http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%C7%D4%A8%D1%C2%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2/frame.htm

Blogger: How to start a blog

การสมัคร Blogger  http://itoeblog.blogspot.com/2009/05/blogger.html







Blogger.com เป็นบริการฟรี Blog ของบริษัท Google ซึ่งเปิดให้บุคลทั่่วไปสามารถสมัครใช้บริการเขียนเรื่องราวต่างๆ ของผู้ใช้บริการ Blogger.


ปัจจุบัน Blogger ถือเป็นที่นิยมอย่ามาก ผู้คนที่ต้องการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง หรือเขียนเรื่องราวที่ตนเองชื่นชอบ สามารถสมัครใช้บริการ Blogger ได้ง่ายๆ และสามารถทำให้ Blog ของพวกเขา เป็นที่รู้จักทั่วโลกผ่านระบบ Internet ภายในเวลาอันรวดเร็ว. ไม่แปลกเลยที่ Blogger จะเป็นที่นิยมมีคนใช้้มากมาย

เรามาดูตัวอย่างของ Blogger กันครับ ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

สามารถสร้าง Blog ส่วนตัว ที่มีลักษณะคล้างคลึงกับ Website

เขียนเรื่องราวที่ชื่นชอบ สู่สายตาคนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว

มีระบบ Comment ผู้อ่านสามารถใส่ความคิดเห็นตอบกลับไปยังเจ้าของ Blog

เป็นสังคมของผู้ที่ติดตามเรื่องราวใน Blog นั้น

ข้อดีของ Blogger ที่ทำให้เป็นที่นิยมอย่างมากมายทั่วโลก

มีระบบการใช้งานที่ง่ายมาก สำหรับคนที่ไม่รู้อะไร ก็สามารถที่จะเขียน Blog ได้ทันที

สามารถปรับแต่เนื้อหาได้หลากหลายรูปแบบการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Blog วีดีโอ, Blog รูปภาพ, หรือแม้แต่การแสดงความสามารถของตนเองผ่าน Blogger และอื่นๆอีกมากมาย

สร้างเนื้อหาได้อย่างไม่จำกัด

ปรับแต่หน้าตาของ Blog ได้อย่างสวยงาม และมี Theme (หน้าเว็บที่ถูกปรับแต่งให้สวยงามมาแล้ว) ให้เลือกใช้อย่างมากมาย ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้เพียงแค่ 1 คลิ๊กเท่านั้น!

การใส่ Video ไว้ใน Blogger

การใส่ Video ไว้ใน Blogger

มีนิสิตที่คุยกันใน MSN ถามอาจารย์ว่าถ้าอยากจะใส่วีดีโอ ลงในบทความ ทำอย่างไร

วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553

ADDIE MODEL






 ADDIE MODEL คือ โมเดลแบบจำลองกระบวนการการออกแบบระบบการเรียนการสอน กล่าวคือกระบวนการพัฒนาการสอน จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด มีแบบจำลองจำนวนมากมายที่นักออกแบบการสอนนำไปใช้ และสำหรับตามความประสงค์ทางการสอนต่างๆ กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแบบ ADDIE สามารถสรุปเป็นขั้นตอนทั่วไปได้เป็น 5 ขั้น ประกอบไปด้วย
1. Analysis (การวิเคราะห์)
2. Design (การออกแบบ)
3. Development (การพัฒนา)
4. Implementation (การนำไปใช้)
5. Evaluation (การประเมินผล)

1. ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis) ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆ ในระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะต้องระบุปัญหา, ระบุแหล่งของปัญหา และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้ ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ เช่น การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) , การวิเคราะห์งาน, การวิเคราะห์ภารกิจ ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย เป้าหมาย และ รายการภารกิจที่จะสอน ผลลัพธ์เหล่านี้จะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอนการออกแบบต่อไป
2. ขั้นการออกแบบ (Design) ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับพัฒนาการสอน ในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์ และขยายผลสารัตถะการสอน ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้

1. การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการนำเสนอ และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test)
2. การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)(ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่)
3. การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design)การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ สิ่งที่ต้องพิจารณา มีดังนี้
1. การกำหนดความละเอียดภาพ (Resolution)
2. การจัดพื้นที่แต่ละหน้าจอภาพในการนำเสนอ
3. การเลือกรูปแบบและขนาดของตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
4. การกำหนดสี ได้แก่ สีของตัวอักษร (Font Color) ,สีของฉากหลัง (Background),สีของส่วนอื่นๆ
5. การกำหนดส่วนอื่นๆ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้บทเรียน

3. ขั้นการพัฒนา (Development) (ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรมและผลิตเอกสารประกอบการเรียน) ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือ สร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียน ในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอน และสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วย ฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลอง) และซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้ 1. การเตรียมการ เกี่ยวกับองค์ประกอบดังนี้ 1.1 การเตรียมข้อความ 1.2 การเตรียมภาพ 1.3 การเตรียมเสียง 1.4 การเตรียมโปรแกรมจัดการบทเรียน 2. การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความ ภาพ เสียง และส่วนอื่น เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการสร้างบทเรียน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการ เพื่อเปลี่ยน story board ให้กลายเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียน หลังจากสร้างบทเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในขั้นต่อไปจะเป็นการตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ขั้นต้นของบทเรียน

4. ขั้นการนำไปใช้ (Implementation) เป็นขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆ, สนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆ และ เป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียนจากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้เป็นการนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้ โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาย เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ

5. ขั้นการประเมินผล (Evaluation) การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติ โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1 กลุ่ม หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผลคะแนนที่ได้ สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียนขั้นตอนนี้วัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ ภายในขั้นตอนต่างๆ และระหว่างขั้นตอนต่างๆ และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว การประเมินผล อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative evaluation) โดยสองขั้นตอนนี้จำดำเนินการดังนี้ การประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) ดำเนินการต่อเนื่องในภายในและระหว่างขั้นตอนต่างๆ จุดมุ่งหมายของการประเมินผลชนิดนี้ คือ เพื่อปรับปรุงการสอนก่อนที่จะนำแบบฉบับขั้นสุดท้ายไปใช้ให้เป็นผล การประเมินผลรวม (Summative evaluation) โดยปกติเกิดขึ้นภายหลังการสอน เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดำเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว การประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน ( เช่นจะซื้อชุดการสอนนั้นหรือไม่ หรือจะดำเนินการต่อไปหรือไม่)



ข้อมูลบรรณานุกรม ธงชัย วิไลวิทย์. ADDIE Model. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2552, จาก http://student.nu.ac.th/comed/webboard/answer.asp?questID=6. อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2540). หลักการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. อิสรีย์ ฉันทะชัยมงคล. (2552). การบูรณาการทฤษฎีการออกแบบการเรียนการสอนกับโมเดลการ วัดผลเพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจเรื่องการพัฒนาบุคลากร. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2552, จากwww.issaree.com/articles/ID.doc. ADDIE Model. (2552). ADDIE Model. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2552, จาก http://en.wikipedia.org/wiki/ADDIE_Model. ADDIE Model. (2552). ADDIE Model. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2552, จาก http://www.learning-theories.com/addie-model.html.