.



วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความหมาย..."เทคโนโลยีการศึกษา"

ความหมาย..."เทคโนโลยีการศึกษา"
แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา อาจแบ่งได้เป็น 2 แนวคิดหลัก
1.แนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีทางการศึกษา (Technology in education)หรือเทคโนโลยีเชิงเครื่องมือ
เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำสื่อที่เกิดจากการปฏวัติทางการสื่อสารมาใช้ในการเรียนการสอน
เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำทัพสัมภาระต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการเรียนการสอน
จากความหมายที่ยกมาทั้งสองความหมายข้างต้น จะพบว่าเป็นความหมายที่เน้นที่เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เป็นผลผลิตจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์หรือสื่อสมัยใหม่ที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นของนักวิทยาศาสตร์ หรือ สื่อสมัยใหม่ที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือดังกล่าวขึ้นเพื่อเอาชนะอุปสรรค ปัญหาในการสื่อสารของมนุษย์ ซึ่งผลจากการประดิษฐ์คิดค้นนั้นทำให้เกิดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ หรือทัพสัมภาระต่าง ๆ มากมาย อาทิ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร เครื่องขยายเสียง คอมพิวเตอร์และอื่น ๆ อีกมากมาย แล้วต่อมานักการศึกษา หรือ ครู อาจารย์ได้นำเอาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าใช้ในการเรียนการสอน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ ออกมาได้แล้ว นักการศึกษาก็มาพิจารณาว่าเครื่องมือดังกล่าวจะสามารถนำมาใช้ช่วยแก้ปัญหาตรงจุดใดของการศึกษาได้บ้าง ความคิดหรือความเข้าใจความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกนัยว่าเทคโนโลยีในการศึกษา (Technology in education)

2.แนวคิดเชิงพฤติกรรมหรือเทคโนโลยีทางการศกษา (Technology of education)หรือเทคโนโลยีเชิงระบบ (System technology)
เทคโนโลยีทางการศึกษา มิได้หมายถึงเฉพาะการนำทัพสัมภาระต่าง ๆ อันเป็นผลผลิตแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการเรียนการสอนเท่านั้น เทคโนโลยีทางการศึกษา ยังหมายถึงวิธีการซึ่งเป็นเพียงแนวคิด เป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้มองด้วยตาไม่เห็น เช่นวิธีระบบ (System approach) วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบไม่แบ่งชั้น วิธีการสอนเป็นคณะ ฯลฯ
เทคโนโลยีทางการศึกษาตามแนวคิดนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นแนวคิดที่เน้นเรื่องการปฏิบัติงานทางการศึกษาด้วยวิธีระบบ หรืออาจกล่าวโดยสรุปแนวคิดเทคโนโลยีทางการศึกษาตามแนวคิดนี้ได้ว่า
เทคโนโลยีทางการศึกษาหมายถึงการออกแบบ การวางแผน การดำเนินการ ตามแผนการประเมินผลภายใต้จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจงอย่างมีระบบโดยการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการที่ได้มาจากการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ตลอดจนอาศัยทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น ธรรมชาติสร้างขึ้น และ หรือ มนุษย์และธรรมชาติสร้างร่วมกัน

ที่มาของข้อมูล : มนตรี แย้มกสิกร.(2547).การวิจัยและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา

วิธีสมัคร Youtube & Up file to Youtube

วิธีสมัคร Youtube & Up file to Youtube http://www.youtube.com/watch?v=0EwEe6xoBUk&feature=related


กรอบแนวคิดในการทำวิจัย

กรอบแนวคิดในการทำวิจัย
กรอบแนวคิดเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อปัญหาการวิจัย ฉะนั้นการให้แนวความคิดจึงต้องชัดเจน และสามารถพิสูจน์ได้ การมีกรอบแนวคิดจะทำให้นักวิจัยสามารถจัดระเบียบข้อมูลได้ และทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพราะกรอบแนวคิดเป็นการรวบรวมเหตุการณ์ต่างๆ เข้าไว้ภายใต้หัวข้อเดียวกัน
ดังนั้น เมื่อนักวิจัยกำหนดจุดความสนใจหรือปัญหาที่จะต้องการหาคำตอบได้แล้ว เพื่อให้สามารถจัดระบบความคิดให้กับสิ่งที่ตั้งคำถามและสนใจที่จะศึกษา นักวิจัยจะต้องปฏิบัติในสิ่งต่อไปนี้.....
สมมติว่านักวิจัยตัดสินใจว่าจะศึกษาวิจัย เรื่อง "ปัจจัยทางสังคมบางประการที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในกิจกรรมพัฒนาท้องถิ่น" สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือ ต้องไปค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี และตำราต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขตแน่นอน ว่า "ปัจจัยทางสังคม" "การมีส่วนร่วม" และ"กิจกรรมพัฒนาท้องถิ่น ณ พื้นที่ที่จะเข้าไปศึกษา" นั้น มีคำอธิบายว่าอย่างไร และในการศึกษาวิจัยนี้กำหนดขอบเขตการอธิบายไว้แค่ไหน ขั้นตอนนี้เอง ที่เรียกว่า การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการศึกษาวิจัย
หรือสมมติว่านักวิจัยตัดสินใจว่าจะศึกษาวิจัย เรื่อง "การศึกษากระบวนการตัดสินใจของพนักงานเทศบาลระดับบริหารเพื่อนำนโยบายทางการเมืองไปปฏิบัติ" สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือ ต้องไปค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี ตำราต่างๆ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปในองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขตแน่นอน ให้กับสิ่งที่เรียกว่า "กระบวนการตัดสินใจ" ว่าอะไรบ้างที่อยู่ในกระบวนการตัดสินใจ และการตัดสินใจนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร บุคคลจะต้องอาศัยอะไรบ้างในการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ฯลฯ เพื่อกำหนดขอบเขตการอธิบายให้แน่นอน ขั้นตอนนี้เอง ที่เรียกว่า การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการศึกษาวิจัย
หรือสมมติว่านักวิจัยตัดสินใจว่าจะศึกษาวิจัย เรื่อง "ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนักประชาสงเคราะห์ในส่วนภูมิภาค" สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือ ต้องไปค้นคว้าจากแนวคิด ทฤษฎี ตำราต่างๆ รวมทั้งงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปในองค์ความรู้เหล่านั้นให้มีขอบเขตแน่นอน กับสิ่งที่เรียกว่า "ความพึงพอใจ" นั่นคือ นักวิจัยจะต้องค้นคว้าให้กระจ่างว่า พฤติกรรมที่เรียกว่าความพึงพอใจ นั้น มีลักษณะอย่างไร และสิ่งที่เรียกว่า "ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการทั่วไป" ควรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง แล้วไปค้นคว้าเพิ่มเติมว่า "คนที่รับราชการในตำแหน่งนักประชาสงเคราะห์" มีภารกิจอะไรบ้าง ความยากง่ายของงาน ความพร้อมของหน่วยงาน ความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งการกำหนดขอบเขตขององค์ความรู้ที่กล่าวมา ก็คือ การกำหนดกรอบแนวคิดสำหรับการศึกษาวิจัย ฯลฯ
http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon/RESEARCH/%C7%D4%A8%D1%C2%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2/frame.htm

Blogger: How to start a blog

การสมัคร Blogger  http://itoeblog.blogspot.com/2009/05/blogger.html







Blogger.com เป็นบริการฟรี Blog ของบริษัท Google ซึ่งเปิดให้บุคลทั่่วไปสามารถสมัครใช้บริการเขียนเรื่องราวต่างๆ ของผู้ใช้บริการ Blogger.


ปัจจุบัน Blogger ถือเป็นที่นิยมอย่ามาก ผู้คนที่ต้องการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง หรือเขียนเรื่องราวที่ตนเองชื่นชอบ สามารถสมัครใช้บริการ Blogger ได้ง่ายๆ และสามารถทำให้ Blog ของพวกเขา เป็นที่รู้จักทั่วโลกผ่านระบบ Internet ภายในเวลาอันรวดเร็ว. ไม่แปลกเลยที่ Blogger จะเป็นที่นิยมมีคนใช้้มากมาย

เรามาดูตัวอย่างของ Blogger กันครับ ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง

สามารถสร้าง Blog ส่วนตัว ที่มีลักษณะคล้างคลึงกับ Website

เขียนเรื่องราวที่ชื่นชอบ สู่สายตาคนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว

มีระบบ Comment ผู้อ่านสามารถใส่ความคิดเห็นตอบกลับไปยังเจ้าของ Blog

เป็นสังคมของผู้ที่ติดตามเรื่องราวใน Blog นั้น

ข้อดีของ Blogger ที่ทำให้เป็นที่นิยมอย่างมากมายทั่วโลก

มีระบบการใช้งานที่ง่ายมาก สำหรับคนที่ไม่รู้อะไร ก็สามารถที่จะเขียน Blog ได้ทันที

สามารถปรับแต่เนื้อหาได้หลากหลายรูปแบบการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Blog วีดีโอ, Blog รูปภาพ, หรือแม้แต่การแสดงความสามารถของตนเองผ่าน Blogger และอื่นๆอีกมากมาย

สร้างเนื้อหาได้อย่างไม่จำกัด

ปรับแต่หน้าตาของ Blog ได้อย่างสวยงาม และมี Theme (หน้าเว็บที่ถูกปรับแต่งให้สวยงามมาแล้ว) ให้เลือกใช้อย่างมากมาย ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้เพียงแค่ 1 คลิ๊กเท่านั้น!

การใส่ Video ไว้ใน Blogger

การใส่ Video ไว้ใน Blogger

มีนิสิตที่คุยกันใน MSN ถามอาจารย์ว่าถ้าอยากจะใส่วีดีโอ ลงในบทความ ทำอย่างไร