ในบทที่ 14 หัวข้อ การวิเคราะห์ผลการทดสอบ ในตำรา เทคนิคการเขียนบทเรียนโปรแกรม ของ รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท (2519 : 127)
ท่านกล่าวไว้ว่า สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งของการสอนแบบโปรแกรม ก็คือ บทเรียนโปรแกรมที่เขาสร้างกันขึ้นนั้น เขาสร้างขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายที่เฉพาะเจาะจง ต่อไปเขาก็อยากทราบว่าจุดมุ่งหมายต่าง ๆ เหล่านั้น บทเรียนสามารถทำให้บรรลุไปได้เพียงใดหรือไม่ ก็ต้องมีการทดสอบกัน ในการทดสอบผลของการใช้บทเรียนโปรแกรมนี้ ได้มีผู้นำเอาเทคนิคการวัดผลหลาย อย่างมาใช้ และเทคนิคที่ใช้กันมากที่สุดวิธีหนึ่งก็คือเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 (The 90/90 Standard)
คำกล่าวของ รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท (2519 : 129) กล่าวไว้ว่า เราขอให้ 90 ตัวแรก เป็นคะแนนเฉลี่ยของทั้งกลุ่ม ซึ่งหมายถึงนักเรียน ทุกคน เมื่อสอนครั้งหลังเสร็จ ให้คะแนนเสร็จ นำคะแนนมาหาค่าร้อยละให้หมดทุกคะแนนแล้ว หาค่าร้อยละเฉลี่ยของทั้งกลุ่ม ถ้าบทเรียนโปรแกรมถึงเกณฑ์ ค่าร้อยละเฉลี่ยของกลุ่มจะต้องเป็น 90 หรือ สูงกว่า
90 ตัวที่สอง แทนคุณสมบัติที่ว่า ร้อยละ 90 ของนักเรียนทั้งหมดได้รับผลสัมฤทธิ์ตามความมุ่งหมายแต่ละข้อ และทุกข้อของบทเรียนโปรแกรมนั้น สมมุติว่าบทเรียนทั้งหมด วัดทุกจุดมุ่งหมายด้วยข้อสอบจำนวน 10 ข้อ และเราทดสอบนักเรียน 100 คน ด้วยข้อทดสอบนี้ ท่าน รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท บอกว่า เราจะไม่ยอมให้นักเรียนทำข้อไหนผิดเลยได้ 90 คน หรือมากกว่า ที่ทำผิดบ้างข้อจะต้องมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 หรือ 10 คน ถ้าเกิดมีการทำผิดในบางข้อขึ้น เกินกว่าร้อยละ 10 จะต้องมีการแก้ไขข้อนั้น ๆ เสียใหม่ แล้วทำการทดสอบบทเรียนอีก เมื่อ ท่านบอกว่า เราแน่ใจว่า ตามลักษณะของผู้เรียนที่กำหนด คะแนนเฉลี่ยของทั้งกลุ่มอย่างน้อยที่สุด เท่ากับร้อยละ 90 และไม่มีคนทำผิดในข้อหนึ่ง เกินกว่าร้อยละ 10 แล้ว ท่านควรตกลงใจได้แล้วว่า บทเรียนที่เขียนขึ้นได้สำเร็จเรียบร้อยลงแล้วและสามารถนำไปใช้ได้ต่อไป
ความหมายของ 90/90 มีดังนี้ 90 ตัวแรก หมายถึง ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังการเรียนจากสื่อนั้น
(จะต้องได้อย่างน้อยร้อยละ 90)
90 ตัวหลัง หมายถึง ร้อยละของจำนวนผู้เรียนที่สามารถผ่านเกณฑ์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมทุกจุดประสงค์
(ตามที่กำหนดในสื่อนั้น)
เอกสารเสนอแนะเพื่อการศึกษาเพิ่มเติม
รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท. เทคนิคการเขียนบทเรียนโปรแกรม หอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
รศ.ดร.มนตรี แย้มกสิกร. การวิจัยและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา หอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา.
สื่อบุคคล
รศ.ดร.สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ (ศิษย์เอก รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท). ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อ้างอิง
เปรื่อง กุมุท. เทคนิคการเขียนบทเรียนโปรแกรม. ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา :
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2519.
สัมภาษณ์ รศ.ดร.สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ. (ศิษย์เอก รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2552.
เปรื่อง กุมุท. เทคนิคการเขียนบทเรียนโปรแกรม. ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา :
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2519.
สัมภาษณ์ รศ.ดร.สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ. (ศิษย์เอก รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2552.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น